เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( จดvat ) มีอะไรบ้าง เมื่อผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจที่มีรายได้ 1,800,000 บาท ขึ้นไปแล้วนั้น ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( จดvat ) ภายใน 30 วัน เพราะฉะนั้นเมื่อรายได้ของธุรกิจใกล้จะเตะ 1,800,000 ก็จะต้องเริ่มเตรียมเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( จดvat ) ให้เรียบร้อยก่อน จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องการเสียภาษีย้อนหลัง
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( จดvat )
- แบบคำขอที่ใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( จดvat ) ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง
- สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการตามอำนาจในหนังสือรับรอง หรือหลักฐาน แสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว
- บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของกรรมการตามอำนาจในหนังสือรับรอง พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว
- ภาพถ่ายสัญญาเช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้ เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และหลักฐานแสดง กรรมสิทธิ์เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ์, สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
- หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)
- หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
- บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
- แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการ
- กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทนต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าวโดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ20 ปีขึ้นไป
แล้วหากทำธุรกิจที่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( จดvat ) แต่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( จดvat ) จะต้องมีความผิดอย่างไร
- ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากยอดขาย สินค้าหรือบริการ ตั้งแต่วันที่มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( จดvat ) เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
- เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละเดือนภาษี
- เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ
- ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไปหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้ (ภาษีขาย)
และเมื่อทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( จดvat ) แล้ว ผู้ประกอบการถึงจะมีหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีได้ และต้องทำการออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า หรือ บริการ